วันเสาร์ที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2555


แผนการจัดการเรียนรู้

อุบัติเหตุในโรงเรียนและแนวทางปฏิบัติตนเพื่อความปลอดภัย

สาระการเรียนรู้ที่ 5 :          ความปลอดภัยในชีวิต                                                       เวลา 1 ชั่วโมง

หน่วยการเรียนรู้ที่ 5           ชีวิตปลอดภัย

เรื่อง อุบัติเหตุในบ้าน โรงเรียน และการเดินทาง

1. สาระสำคัญ

                เราใช้เวลาอยู่ในโรงเรียนวันละหลายชั่วโมงอุบัติเหตุจึงอาจเกิดขึ้นได้ถ้าขาดความระมัดระวัง เช่น อุบัติเหตุจากการเล่นกีฬาจากการทดลองในชั่วโมงวิทยาศาสตร์หรือจากการใช้อุปกรณ์มีคมประกอบการเรียนเพื่อความปลอดภัยเมื่ออยู่ในโรงเรียนจึงต้องปฏิบัติตนโดยใช้อุปกรณ์มีคมอย่างระมัดระวังไม่เล่นปีนป่ายที่สูงไม่เล่นผาดโผนเคารพและปฏิบัติตามกฎกติกาการเล่นกีฬาและกฎความปลอดภัยในโรงเรียน

2. ตัวชี้วัดชั้นป

                ปฏิบัติตนเพื่อความปลอดภัยจากอุบัติเหตุในบ้านโรงเรียนและการเดินทาง ( 5.1

                   . 3/1)

3. จุดประสงค์การเรียนรู้

                1. บอกแนวทางปฏิบัติตนเพื่อความปลอดภัยเมื่ออยู่ในโรงเรียนอย่างถูกต้องได้ (K)

                2. ร่วมศกึษาและปฏิบัติกิจกรรมการเรียนรู้เกี่ยวกับแนวทางปฏิบัติตนเพื่อความปลอดภัย

                    เมื่ออยู่ในโรงเรียนด้วยความสนใจ (A)

                3. แสดงทักษะในการปฏิบัติตามแนวทางความปลอดภัยเมื่ออยู่ในโรงเรียนอย่างถูกต้องได้                  (P)

4. การวัดและประเมินผลการเรียนรู้

ด้านความรู้ (K)

วิธีการวัดและประเมินผล
เครื่องมือวัดและประเมินผล
เกณฑ์การวัดและประเมินผล
ซักถามความรู้เรื่อง การติดต่อ
ของโรค
แบบประเมินผลการนำเสนอ
   ข้อมูล/การอภิปราย/การสร้าง
   แผนที่ความคิด*
ผ่านเกณฑ์เฉลี่ย 2 ขึ้นไป

ตรวจสอบความถูกต้องใน
การสร้างแผนที่ความคิด
สรุปความรู้เรื่อง การติดต่อ
ของโรค
แบบประเมินผลการนำเสนอ
   ข้อมูล/การอภิปราย/การสร้าง
   แผนที่ความคิด*

ผ่านเกณฑ์เฉลี่ย 2 ขึ้นไป

ตรวจสอบความถูกต้องใน
การปฏิบัติกิจกรรมบันทึก
ความรู้เรื่องการติดต่อของ
โรค
รูปแบบของกิจกรรมตามที่
   ระบุในหนังสือเรียนฯ/หรือ
   สื่อการเรียนรู้ สุขศึกษาและ
   พลศึกษา สมบูรณ์แบบ ป . 3
ร้อยละ 80 ขึ้นไป


*ดูรายละเอียดในเอกสาร/ความรู้เสริมสำหรับครู

ด้านคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ (A)

วิธีการวัดและประเมินผล
เครื่องมือวัดและประเมินผล
เกณฑ์การวัดและประเมินผล
สังเกตพฤติกรรม
   การแสดงออกของนักเรียน
รูปแบบประเมินคุณธรรม
   จริยธรรม ค่านิยม และ
   คุณลักษณะอันพึงประสงค์*
ผ่านเกณฑ์เฉลี่ย 2 ขึ้นไป

* ดูรายละเอียดในเอกสาร/ความรู้เสริมสำหรับครู

ด้านทักษะ/กระบวนการ (P)

วิธีการวัดและประเมินผล
เครื่องมือวัดและประเมินผล
เกณฑ์การวัดและประเมินผล
สังเกตพฤติกรรม
   การแสดงออกของนักเรียน
แบบประเมินทักษะ/  
   กระบวนการ*
ผ่านเกณฑ์เฉลี่ย 2 ขึ้นไป

* ดูรายละเอียดในเอกสาร/ความรู้เสริมสำหรับครู

5. สาระการเรียนรู้

                1. อุบัติเหตุในบ้าน โรงเรียน และการเดินทาง

                1.2 อุบัติเหตุในโรงเรียน

6. แนวทางบูรณาการ

                ภาษาไทย                              พูดคุยแสดงความคิดเห็นจดบันทึกเกี่ยวกับแนวทางปฏิบัติ

                                                                เพื่อความปลอดภัยเมื่ออยู่ในโรงเรียน

                การงานอาชีพฯ                   ออกแบบและตกแต่งแผนที่ความคิดเกี่ยวกับการเกิดอุบัติเหตุ                                                    ภายในโรงเรียน

                วิทยาศาสตร์                         สำรวจและเก็บรวบรวมข้อมูลศึกษาสืบค้นและบันทึกข้อมูล                                                                     เกี่ยวกับสภาพแวดล้อมภายในโรงเรียนที่อาจเกิดความไม่                                                                         ปลอดภัย

                ศิลปะ                                    วาดภาพระบายสีบริเวณภายในโรงเรียนที่เกิดความไม่ปลอดภัย

7. กระบวนการจัดการเรียนรู้

                ขั้นที่ 1 นำเข้าสู่บทเรียน

                1. นักเรียนร่วมกันทบทวนความรู้เกี่ยวกับอุบัติเหตุและแนวทางปฏิบัติเพื่อความปลอดภัย

                    เมื่ออยู่ที่บ้านจากการศึกษาในคาบเรียนที่ผ่านมา

                2. นักเรียนผลัดกันเล่าถึงความรู้สึกที่มีต่อโรงเรียนและให้นักเรียนร่วมกันแสดงความ

                    คิดเห็นในประเด็นที่ว่า โรงเรียนของเรามีความปลอดภัยหรือไม่อย่างไร

                ขั้นที่ 2 กิจกรรมการเรียนรู้

                1. นักเรียนแบ่งกลุ่ม กลุ่ม ละ 3–4 คน ร่วมกันศึกษาเรื่องอุบัติเหตุในโรงเรียน

                    ดังรายละเอียดในหนังสือเรียนฯ/หรือในสื่อการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา

                    สมบูรณ์แบบ ป. 3

                2. นักเรียนแต่ละกลุ่มสรุปผลการศึกษาโดยเขียนสรุปในรูปแบบของแผนที่ความคิด

                    และส่งตัวแทนกลุ่มออกมารายงานผลหน้าชั้นเรียน

                3. ครูตรวจสอบการแสดงแผนที่ความคิดและให้ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม

                ขั้นที่ 3 ฝึกฝนทักษะและประสบการณ์

                นักเรียนปฏิบัติกิจกรรมมาร่วมสร้างป้ายรณรงค์ความปลอดภัยในโรงเรียนโดยนักเรียน

                   ออกแบบเขียนป้ายรณรงค์การสร้างพฤติกรรมความปลอดภัยในโรงเรียนด้วยการวาดรูป

                   เขียนข้อความและระบายสีตามจินตนาการลงในกรอบที่กำหนด

                ขั้น ที่ 4 การ นำไปใช้

                นักเรียนนำความรู้ที่ได้จากการศึกษาไปปฏิบัติในชีวิตประจำวันเพื่อป้องกันอุบัติเหตุ

                   ภายในโรงเรียนและบันทึกผลการปฏิบัตินำส่งครู

                ขั้นที่ 5 สรุปความรู้

                ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปความรู้เกี่ยวกับแนวทางการปฏิบัติเพื่อความปลอดภัย

                   ในโรงเรียนและให้นักเรียนบันทึกความรู้โดยสังเขปลงในสมุดบันทึก

8. กิจกรรมเสนอแนะ

                1. นักเรียนออกไปสำรวจความปลอดภัยภายในบริเวณต่างๆของโรงเรียนว่ามีบริเวณ

                    ใดบ้างที่อาจเกิดอุบัติเหตุได้ง่ายและเสนอแนะวิธีการแก้ไข

                2. นักเรียนบันทึกผลการสังเกตและวาดภาพระบายสีบริเวณที่อาจเกิดอุบัติเหตุหรือบริเวณ

                    ที่มักเกิดอุบัติเหตุได้บ่อยภายในโรงเรียน


ตัวอย่าง

แบบบันทึกการสังเกตความปลอดภัยในบ้าน

บริเวณที่สำรวจ
ลักษณะของสภาพ
ความปลอดภัย
สรุปผลความปลอดภัย
วิธีการปรับปรุง/แก้ไข
1.ห้องครัว
วางของไม่เป็น
ระเบียบ พื้นลื่น
ไม่ปลอดภัย
จัดเก็บของเข้าที่
ทุกครั้ง เมื่อใช้งานเสร็จและเช็คถูพื้นให้แห้งเสมอ
2.



3.



4.



5.






ภาพบริเวณบ้านที่อาจเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย
นักเรียนวาดภาพระบายสีประกอบ

















9. สื่อ/แหล่งการเรียนรู้

                1. อุปกรณ์ประกอบการวาดภาพระบายสี

                2. หนังสือ เรียนสาระการเรียนรู้พื้นฐานสุขศึกษาและพลศึกษา ป. 3 บริษัท สำนัก                              พิมพ์วัฒนาพานิช จำกัด

                3. สื่อการเรียนรู้ สุขศึกษาและพลศึกษา สมบูรณ์แบบ ป. 3 บริษัท สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช

                    จำกัด

                4. แบบฝึกหัด สุขศึกษาและพลศึกษา ป. 3 บริษัท สำนักพิมพว์ ัฒนาพานิช จำกัด

10. บันทึกหลังการจัดการเรียนรู้

1. ความสำเร็จในการจัดการเรียนรู้_________________________________________
    แนวทางในการพัฒนา_________________________________________________
2. ปัญหา/อุปสรรคในการจัดการเรียนรู้___________________________________
3. สิ่งที่ไม่ได้ปฏิบัติตามแผน______________________________________________
    เหตุผล_____________________________________________________________
4. การปรับปรุงแผนการจัดการเรียนรู้_______________________________________

ลงชื่อ ______________ (ผู้สอน)
 


































คำอธิบายรายวิชา

พ ๑๓๑๐๑ สุขศึกษาและพลศึกษา ๓                                 กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา

ชั้นประถมศึกษาปีที่                                                                                         เวลาเรียน ๘๐ ชั่วโมง

ศึกษาเพื่อให้สามารถ อธิบาย และ/หรือ บอก ระบุ จำแนก เปรียบเทียบ ในเรื่องลักษณะ และ       การเจริญเติบโตของร่างกายมนุษย์ การเจริญเติบโตของตนเองกับเกณฑ์มาตรฐาน ปัจจัยที่มีผลต่อ         การเจริญเติบโต ความสำคัญและความแตกต่างของครอบครัวที่มีต่อตนเอง วิธีสร้างสัมพันธภาพในครอบครัวและกลุ่มเพื่อน วิธีหลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่นำไปสู่การล่วงละเมิดทางเพศ การติดต่อและวิธีป้องกัน             การแพร่กระจายของโรค อาหารหลัก ๕ หมู่

ปฏิบัติตนในการเลือกออกกำลังกาย การละเล่นพื้นเมืองและเล่นเกมที่เหมาะสมกับจุดเด่น จุดด้อย และข้อจำกัดของตนเอง ปฏิบัติตามกฎ กติกาและข้อตกลงของการออกกำลังกาย การเล่นเกม การละเล่นพื้นเมืองได้ด้วยตนเอง เลือกกินอาหารที่หลากหลายครบ ๕ หมู่ ในสัดส่วนที่เหมาะสมแสดงการแปรงฟัน    ให้สะอาดอย่างถูกวิธี สร้างเสริมสมรรถภาพทางกายได้ตามคำแนะนำ ปฏิบัติตนเพื่อความปลอดภัยจากอุบัติเหตุในบ้าน โรงเรียนและการเดินทาง แสดงวิธีขอความช่วยเหลือจากบุคคลและแหล่งต่าง ๆ เมื่อเกิดเหตุร้ายหรืออุบัติเหตุ แสดงวิธีปฐมพยาบาลเมื่อบาดเจ็บจากการเล่น

มีทักษะในการควบคุมการเคลื่อนไหวร่างกายขณะอยู่กับที่ เคลื่อนที่ และใช้อุปกรณ์ประกอบอย่าง   มีทิศทาง เคลื่อนไหวร่างกายที่ใช้ทักษะการเคลื่อนไหวแบบบังคับทิศทางในการเล่นเกมเบ็ดเตล็ด

โดยใช้ทักษะในการปฏิบัติกิจกรรม ทักษะการเคลื่อนไหวร่างกาย กระบวนการคิด การสืบค้นข้อมูล และการแก้ปัญหา

เพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ มีความสามารถในการคิด การสื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ การตัดสินใจ และ   นำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน มีเหตุผล รักการออกกำลังกายและการเล่นเกมกีฬา มีน้ำใจเป็นนักกีฬา มีจิตวิญญาณในการแข่งขัน ชื่นชมในสุนทรียภาพของการกีฬา การสร้างเสริมสุขภาพ และการดำรงสุขภาพอย่างยั่งยืน เห็นคุณค่าของตนเอง ครอบครัว เพศศึกษา และมีทักษะในการดำเนินชีวิต 

รหัสตัวชี้วัด

พ ๑.๑ ป.๓/๑  พ ๑.๑ ป.๓/๒  พ ๑.๑ ป.๓/๓

พ ๒.๑ ป.๓/๑  พ ๒.๑ ป.๓/๒  พ ๒.๑ ป.๓/๓

พ ๓.๑ ป.๓/๑  พ ๓.๑ ป.๓/๒

พ ๓.๒ ป.๓/๑  พ ๓.๒ ป.๓/๒

พ ๔.๑ ป.๓/๑  พ ๔.๑ ป.๓/๒  พ ๔.๑ ป.๓/๓  พ ๔.๑ ป.๓/๔  พ ๔.๑ ป.๓/๕

พ ๕.๑ ป.๓/๑  พ ๕.๑ ป.๓/๒  พ ๕.๑ ป.๓/๓

รวม      มาตรฐาน   ๑๘   ตัวชี้วัด


วันอาทิตย์ที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

สุขบัญญัติ 10 ประการ

สุขบัญญัติ 10 ประการ

1.ดูแลร่างกายของใช้ให้สะอาด

ครอบครัว สุขบัญญัติ 10 ประการ
2..รักษาฟันให้แข็งแรง และแปรงฟันทุกวันอย่างถูกวิธี


 
3.ล้างมือให้สะอาดก่อนรับประทานอาหารและหลังการขับถ่าย

แปรงฟัน
4.กินอาหารสุก สะอาด ปราศจากสารอันตราย และหลีกเลี่ยงอาหารรสจัด สีฉูดฉาด โดยการ

5.งดสูบบุหรี่ สุรา สารเสพติด การพนัน และการสำส่อนทางเพศ

ทำอาหาร
6.สร้างความสัมพันธ์ในครอบครัวให้อบอุ่น

สูบบุหรี่
7.ป้องกันอุบัติภัยด้วยการไม่ประมาท

8.ออกกำลังกายสม่ำเสมอ และตรวจสุขภาพประจำปี


ออกกำลังกาย




                          อ้างอิง จาก http://health.kapook.com/view6623.html


























สระผม
ยินดีต้อนรับเข้าสู่วิชา สุขศึกษาและพลศึกษา